คอมเพรสเซอร์ (Compressor) หัวใจหลักสำหรับการสร้างความเย็น


2022-06-24 15:24:36
#ระบบแอร์รถยนต์

 



        ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่จำเป็นที่จะต้องมีระบบแอร์หรือระบบทำความเย็นเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งการทำงานและอุปกรณ์บางส่วนของระบบแอร์นั้นจะแตกต่างกันตามแต่ละประเภทของรถยนต์ เช่น รถยนต์ขนาดเล็กหรือรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั่วไป, รถกระบะหรือรถเชิงพาณิชย์, รถยนต์ขนาดใหญ่ เช่น รถบัสหรือรถบรรทุก อย่างไรก็ตาม ระบบแอร์รถยนต์โดยทั่วไปนั้นจะมีอุปกรณ์พื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน อันได้แก่

1.Compressor (คอมเพรสเซอร์)

2.Condenser (แผงคอยล์ร้อน)

3.Expansion Valve (วาล์วลดแรงดัน)

4.Evaporator (คอยล์เย็น)

5.Receiver/Dryer

6.Radiator Fan (พัดลมหม้อน้ำ)


ระบบปรับอากาศภายในรถยนต์


        ซึ่งเมื่อพูดถึงแอร์รถยนต์ หลายๆคนอาจนึกถึงแอร์ DENSO ขึ้นมาเป็นอันดับแรก เพราะในปัจจุบัน ทาง DENSO ได้มีการผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ชิ้นส่วนของระบบแอร์รถยนต์ ให้กับผู้ผลิตรถยนต์ในหลากหลายค่ายด้วยกัน โดยในบางค่ายรถยนต์ได้มีการใช้ระบบแอร์ของทาง DENSO ในรถยนต์เกือบทุกรุ่น ดังนั้น หากเกิดปัญหาขึ้นกับระบบแอร์อันเนื่องมาจากสาเหตุการชำรุดเสียหายต่างๆ หรือถึงระยะเวลาที่ครบกำหนดในการเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในระบบแอร์ตามอายุการใช้งานของอุปกรณ์นั้นๆ ลูกค้าสามารถเลือกชิ้นส่วนอะไหล่แท้ที่ตรงกับรุ่นและยี่ห้อรถยนต์ ของทาง DENSO เพื่อใช้ในการเปลี่ยนซ่อมได้อย่างไร้กังวล ทั้งนี้ ก็เพื่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบภายในรถยนต์ที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับรถยนต์ของคุณ



        

        ในวันนี้เราจะขอกล่าวถึง หัวใจหลักในการสร้างความเย็น ของระบบแอร์รถยนต์ ที่มีชื่อว่า “คอมเพรสเซอร์” ซึ่งจัดเป็นอุปกรณ์หลักที่มีความสำคัญ ที่ทำให้ระบบแอร์สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพสูงสุด    คอมเพรสเซอร์ (Compressor) นั้นทำหน้าที่ในการดูดและอัดสารทำความเย็น ในสถานะก๊าซผ่านการขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ผ่านทางสายพานและคลัตช์แม่เหล็ก จากนั้นจะถูกส่งผ่านไปยังแผงคอยล์ร้อน (Condenser) ซึ่งก๊าซช่วงที่ทำการอัดผ่านเข้าไปยังแผงคอยล์ร้อน จะมีอุณหภูมิและแรงดันสูงอยู่ที่ประมาณ 80-90 องศา ก่อนที่จะถูกทำให้เกิดการเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลวภายในแผงคอยล์ร้อนสารทำความเย็นจะเคลื่อนที่ไปยังวาล์วลดแรงดัน (Expansion Valve) เพื่อทำการลดแรงดันของสารทำความเย็นลง โดยจะมีการเปลี่ยนสถานะกลับไปเป็นก๊าซที่อุณหภูมิต่ำ แรงดันต่ำ จากนั้นจะเคลื่อนที่ไปยังคอยล์เย็น (Evaporator) เพื่อทำการดูดความร้อนภายในรถยนต์ และเปลี่ยนเป็นอากาศเย็นปล่อยเข้าสู่ภายในห้องโดยสาร สารทำความเย็นในสถานะก๊าซเหล่านี้จะถูกดูดและอัดโดย คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เพื่อเปลี่ยนไปเป็นก๊าซที่มีอุณหภูมิสูง ความดันสูงอีกครั้ง
 การทำงานของระบบแอร์รถยนต์ จะดำเนินการในลักษณะนี้ต่อไปเรื่อยๆ เราจะเห็นได้ว่าคอมเพรสเซอร์ (Compressor) นั้นเป็นอุปกรณ์สำคัญในการเริ่มวงจรของการอัดสารทำความเย็นเข้าไปในระบบ เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความร้อน และปล่อยอากาศที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสมแก่ผู้โดยสาร ภายในห้องโดยสาร

คอมเพรสเซอร์ (Compressor)

    

        ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อรถยนต์ได้มีการใช้งานไปเป็นระยะเวลานานๆ ชิ้นส่วนภายในของระบบแอร์รถยนต์จะเริ่มมีการเสื่อมสภาพหรือเกิดการสึกหรอได้ ซึ่งอาจเกิดจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในของตัวคอมเพรสเซอร์เองก็ดี หรือจากส่วนประกอบอื่นๆภายในระบบที่ไม่ได้มีการบำรุงรักษา แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่คอมเพรสเซอร์  ปัญหาเหล่านี้ จะส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการทำความเย็นของระบบแอร์ ทำให้แอร์เย็นบ้างไม่เย็นบ้าง หรือแม้กระทั่งส่งกลิ่นเหม็นอับออกมาภายในห้องโดยสาร ดังนั้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจเช็คเพื่อวิเคราะห์หาปัญหาที่แท้จริงของอาการดังกล่าว โดยในเบื้องต้น เราสามารถจำแนกสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดจากคอมเพรสเซอร์ได้ ดังนี้

  1. คอมเพรสเซอร์ล็อค มีสาเหตุมาจากการรั่วของอุปกรณ์ภายในระบบ และส่งผลทำให้เกิดการรั่วไหลของน้ำมันคอมเพรสเซอร์ตามมา โดยปกติแล้วภายในคอมเพรสเซอร์จะมีน้ำมันคอมเพรสเซอร์ ที่ทำหน้าที่ในการล่อลื่นอุปกรณ์ต่างๆภายในคอมเพรสเซอร์ให้ทำงานได้อย่างราบรื่นและเป็นปกติ หากมีการพร่องของน้ำมันล่อลื่นภายในคอมเพรสเซอร์ ก็จะส่งผลให้เกิดการเสียดสีกันของอุปกรณ์ชิ้นส่วนภายในทำให้เกิดการสึกหรอและเกิดการล็อคของคอมเพรสเซอร์ขึ้นได้
  2. คอมเพรสเซอร์ไม่มีกำลังอัด มีสาเหตุมาจากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน ทำให้อุปกรณ์ภายในต่างๆของคอมเพรสเซอร์เกิดการเสื่อมสภาพและเกิดการสึกหรอ

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆที่อาจส่งผลต่อคอมเพรสเซอร์ เช่น ปัญหาที่เกิดจากระบบไฟฟ้า


 *ข้อควรระวัง

 
กรณีที่เราพบว่าน้ำยาแอร์ในระบบขาด อย่าเพียงแค่เติมน้ำยาแอร์เข้าไปในระบบเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แนะนำให้ท่านทำการตรวจเช็คการรั่วภายในระบบแอร์เพิ่มเติมด้วย ซึ่งปัญหาที่แท้จริงอาจเกิดจากการรั่วไหลที่อุปกรณ์ภายในระบบ ที่อาจส่งผลทำให้เกิดการรั่วของน้ำมันคอมเพรสเซอร์ออกมา และทำให้เกิดการล็อคของคอมเพรสเซอร์ดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้นนั่นเอง


        สำหรับในส่วนของคอมเพรสเซอร์ที่ทาง DENSO เป็นผู้ผลิต ในปัจจุบันได้มีการคำนึงถึงระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวคอมเพรสเซอร์ โดยได้มีการพัฒนาชุดแม็คเนติกคลัตช์ (Magnetic Clutch) ที่ใช้กับคอมเพรสเซอร์แบบแปรผัน ชนิด DL Type (Damper and Limited) ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการทำแม็คเนติกคลัตช์นั้นมาจากเรซิ่น (Resin) ที่มีกลไกหน่วงภายใน เพื่อดูดซับความผันผวนของแรงบิดภายในคอมเพรสเซอร์และมีกลไกลิมิเตอร์ (Limiter) เพื่อป้องกันการขาดของสายพานหากเกิดการล็อคของคอมเพรสเซอร์
 *ในปัจจุบัน พูเล่ย์ชนิด DL จะใช้กับคอมเพรสเซอร์แบบแปรผัน ส่วนใหญ่จะใช้กับระบบแอร์ AUTO



คลัตช์พูเล่ย์ ชนิด DL (Damper and Limited)


หลักการทำงานของระบบป้องกันคอมเพรสเซอร์ล็อค


        หากลูกค้าท่านใด ต้องการตรวจเช็คอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบแอร์ ที่มีมาตรฐานในการซ่อม  การให้บริการและใช้ชิ้นส่วนอะไหล่แท้ตรงรุ่นของทาง DENSO ลูกค้าสามารถเลือกเข้ารับบริการที่ศูนย์บริการ DENSO ใกล้บ้าน ที่มีมากกว่า 70 สาขาทั่วประเทศ ครอบคลุมในหลากหลายภูมิภาคและหลายจังหวัด ทางศูนย์บริการสามารถทำการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างแม่นยำ ให้คำแนะนำ และค่าบริการที่เหมาะสมกับรถยนต์ของคุณ เพื่อยืดอายุการใช้งานของระบบแอร์ให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น 


ติดต่อ ศูนย์บริการ DENSO ได้แล้ววันนี้ !


ศูนย์บริการต่างๆของเด็นโซ่ 



























Copyright ® 2023 CarServicePartner.com